จตุรมิตร สามัคคี สามัคคี สามัคคี
- Wuttipat K.
- Jan 27, 2018
- 1 min read

ทุกๆ 2 ปี เราจะได้ยินเสียงเชียร์จากทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันจากการเชียร์บอลจตุรมิตรที่พวกเราคุ้นเคยกันดี เวลาที่เราจะได้มีโอกาสอยู่ร่วมเชียร์ฟุตบอลกับเพื่อนๆในนามของสถาบันตัวเอง แต่มักจะเกิดอะไรขึ้นและเรามักจะมองข้ามในระหว่างการแข่งขันฟุตบอลของ 4 สถาบันที่ถูกเชิดชูโดยศิษย์ของตัวเอง
อะไรซ่อนอยู่ในการเชียร์บอลจตุรมิตร?
เราต่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าแท้แล้วธรรมชาติของมนุษย์แล้วเกิดมาจากความรุนแรงทั้งนั้น แต่รูปแบบของการแสดงออกมันแค่เปลี่ยนไปตามเวลา สถานที่ และอารมณ์ เวลาที่ได้อยู่กับเพื่อนในนามโรงเรียน สนามฟุตบอลที่พร้อมกับการแข่งขัน และอารมณ์ฮึกเหิม
สามอย่างนี้ก็มากพอจะให้เห็นสิ่งที่เรามองข้ามมาตลอดได้ ไม่รวมอารมณ์อื่นที่สามารถแทรกมาได้ตลอดเวลาอีก เช่น ความรำคาญจากอากาศอับๆร้อนๆ ความโกรธตอนนักกีฬาฝ่ายตรงข้าม หรือคำโห่ร้องของเพื่อนที่อยู่ข้างๆที่แอบชวนให้เรามีส่วนร่วมด้วย

Photo courtesy of AC Jaturamitr 28 by AC Ed Tech
ความรุนแรงของมนุษย์เริ่มมาได้ยังไง
ถ้าให้ต้องย้อนเวลาไปในประวัติศาสตร์สักนิดเพื่อให้เราเห็นภาพมากขึ้นว่าทำไมสัญชาติญาณของมนุษย์มาจากความรุนแรงได้ยังไงก็คงต้องกลับไปดูช่วงยุคตอนต้นและกลาง ซึ่งต่างกับยุคหินใหม่ที่เริ่มอาศัยรวมกันอยู่เป็นหมู่บ้าน รู้จักทำการเกษตรอย่างเป็นระบบ ซึ่งการเพาะปลูกได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์จากสังคมล่าสัตว์ (hunting and gathering) มาเป็นสังคมเกษตรกรรมและตั้งรกราก (agriculture and settlement) หรือว่าก่อนได้จะเป็นยุคหินใหม่ (Neolithic) มนุษย์ต้องเอาตัวรอดในการล่าสัตว์และฆ่าพวกเดียวกันเองในการเอาชีวิตรอดในสภาพอากาศที่เลวร้าย หลบๆซ่อนๆในป่าจากทั้งคนกันเองและสัตว์ร้าย โดยที่นักมานุษยวิทยาชาวออสเตรเลีย Raymond Dart ได้บรรยายความรุนแรงนั้นไว้ว่า “นักฆ่าจำเป็น: สัตว์กินเนื้อที่ยึดครองที่อยู่อาศัยโดยความรุนแรง โดยทุบตีจนตาย ฉีกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ค่อยๆตัดแขนตัดขา แล้วดับความกระหายโดยเลือดร้อนๆจากเหยื่อที่พึ่งล่ามาได้”
จากหนังสือของเขาเรื่อง African Genesis
แต่ถึงการฆ่ากันของมนุษย์เองในยุคหินที่ว่ารุนแรงแล้ว สถิติของสาเหตุการตายของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเองในยุคนั้นมีแค่ 10% แล้วค่อยๆมากขึ้นเรื่อยๆเป็น 25% ในยุคล่าอาณานิคมและลดลงมาอีกทีจนเป็นแบบทุกวันนี้ที่สาเหตุการตายเกือบร้อยทั้งร้อยมาจากอุบัติเหตุหรือโรคภัยไข้เจ็บ
กลับมาที่โลกในศตวรรษที่ 21 ที่เราไม่มีทางได้พบเห็นเหตุการณ์ดังกล่าวบนถนนหรือหน้าปากซอยบ้านตัวเองได้อีกต่อไป ต้องขอบคุณวิวัฒนาการของพวกเราหลายหมื่นปีที่ทาให้ชีวิตเราทุกๆวันนี้มีเรื่องกังวลว่าวันนี้จะมีคนมาดู story ใน Instragram เรากี่คน แทนที่วันนี้จะมีอะไรตกถึงท้องไหม

Photo courtesy of AC Jaturamitr 28 by AC Ed Tech
แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการเชียร์กีฬากระชับมิตร?
การบันดาลโทสะข้างสนามสนามศุภชลาศัยที่มีตั้งแต่โห่ร้องเมื่อไม่พอใจในการแข่งที่ค่อยเริ่มแจกกล้วยกันอย่างสนุกสนานไปจนถึงการดักตีกันก็คือพื้นฐานจากความรุนแรงทั้งสิ้น
แต่ความรุนแรงในการแข่งกีฬาจะพิเศษกว่าความรุนแรงปกติตรงที่การแบ่งแยกฝ่ายชัดเจนของทีมแข่งโรงเรียนทั้ง 2 ทีม ที่ต้องมานั่งเชียร์ฟุตบอลข้างๆกัน มีตั้งแต่ศิษย์ที่ยังเรียนมัธยมไปยันศิษย์เก่าที่จบไปแล้วหลายสิบปีที่อายุห่างกันรุ่น พ่อ-ลูก ซึ่งเมื่อมาเจอกันก็เข้าใจกันเองว่า ‘วันนี้มารวมตัวกัน เพื่อเชียร์บอลให้กับโรงเรียนอันที่รักยิ่งของพวกเรา’ จึงเกิดการสร้างศัตรูร่วม (Common enemy) ขึ้นมาโดยปริยาย เปรียบได้กับโดยเหมือนศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันมากกว่า 1,250 คน มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
โดยที่สุภาพบุรุษต่างวัยทั้ง 2 คน ที่ก็ผ่านการขัดเกลาทางสังคมในโรงเรียนมาคล้ายๆกัน ไม่ว่าจะเป็นการสอนความรักในสถาบันทั้งโดยตรงโดยอ้อมตั้งแต่ ‘XXที่หนึ่งตลอดกาล’ เพลงเชียร์เชิดชูสถาบันที่นักเรียนทุกคนต้องร้องได้ หรือการอยู่ในสังคมที่พยายามให้ทุกคนมีที่พึ่งทางจิตใจเหมือนกัน แต่ตัวอย่างที่ยกมาข้างต้นก็ไม่ใช้มีแค่สถาบันโรงเรียน แต่กลับเริ่มมาลัทธิชาตินิยม (Nationalism) ยกตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่นกับการสู้ถวายหัวเพื่อกษัตริย์ในสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือคำขวัญ “เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน” ของกองทัพไทยที่คล้ายคลึงกับประเทศอื่นๆอีกที
การเชียร์บอลสไตล์จตุรมิตรถึงจะสนุกในแบบของมัน แต่ก็ทั้งน่าขำและน่าคิดไปต่อด้วยว่า “จตุรมิตรสามัคคี” มันสร้างความสามัคคีจริงๆแค่ไหนกัน หรือว่าจุดประสงค์ในการสร้างความสามัคคีไม่มีอยู่แล้วตั้งแต่แรกแล้ว

Photo courtesy of AC Jaturamitr 28 by AC Ed Tech
อ้างอิง
https://philosophynow.org/issues/105/Are_Human_Beings_Naturally_Violent_And_Warlike
http://www.independent.co.uk/news/science/human-evolution-violence-instinct-to-kill-murder-each-other-a7335491.html
https://en.wikipedia.org/wiki/Violence_in_sports
Illustrated by Chainwit Dhanasarnsombat
Comments