top of page

มารู้จัก AC Debate – ชมรมที่คุณไม่รู้จัก

  • เจนเจนเจนเจน
  • Mar 7, 2018
  • 2 min read

ใครๆก็ว่าเด็กอัสสัมชัญเนี่ยเก่งภาษาอังกฤษโคตร

ดูอย่างกิจกรรม DEBATE (โต้วาทีภาษาอังกฤษ) ที่ดูแล้วยากโคตร อัสสัมชัญก็มีให้คุณนะ

ห้ะ อะไรนะ อัสสัมมีกิจกรรมแบบนี้ด้วยหรอ

เอาจริงๆก่อนที่ผมจะเข้าหารู้จัก ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเรามีชมรมนี้อยู่ด้วย พอได้เข้าไปสัมผัสแล้ว ชมรมนี้ควรค่าแก่การบอกต่อมากๆ

ต่อให้อาจไม่รู้จักกันเท่าไหร่ ไม่เป็นไร เดี๋ยวเราทำให้ทุกๆคนรู้จักเอง

ครั้นจะให้เราเขียนเล่าเอง มันก็อาจะดูตะกุกตะกักนิดนึง เพราะเราไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรเท่าไหร่ เราเลยเชิญ อาร์ม - นพรุจ พุทธิมาโนชญ์ AC 132 ประธานชมรม AC Debate มานั่งคุยกับเราในวันนี้

แนะนำตัวหน่อย

สวัสดีครับ ผม นพรุจ พุทธิมาโนชญ์ EP. M.4/1 (ปี 2018 นี้ก็ 5/1) ผมเข้าชมรมนี้ตั้งแต่ตอนม.1 อยากเข้าตั้งแต่เข้าอัสสัมเลยล่ะครับ ตอนแรกอยากลองเพราะอยากมีกิจกรรมทำบ้าง ไม่อยากเรียนอย่างเดียวคับ ไปๆมาๆ ตอนนี้ดีเบตมา 4 ปีละครับ แล้วตอนนี้ได้เป็นประธานชมรมตั้งแต่ตอนเริ่มม.4 แล้วคับ ส่วนตัวชอบ debate มาก และหวังว่าจะ debate ต่อไปจนจบมัธยมเลยครับ

Debate คืออะไร

Debate คือการที่นักเรียนสองทีมหรือสองสถาบัน “เถียงกันในหัวข้อที่กำหนด” ครับ โดยมีความท้าทายตรงที่ เราต้องมีความรู้รอบตัวหลายๆ เรื่อง ต้องมีไหวพริบที่ดีในการโต้ และต้องมีภาษาอังกฤษที่สื่อสารได้เพราะ debate ที่ว่านี้เป็นการเถียงกันเป็นภาษาอังกฤษครับ โดยทีมนึงจะมีสามคน และแต่ละคนจะมีเวลาพูดประมาณ 7 นาที โดยที่การแข่งขันจะมีอยู่ทุกๆสองสามเดือนและจะมีทีมจากโรงเรียนและมหาลัยต่างๆส่งแข่งขันกันครับ

เราไปรู้จักกับ debate ได้ยังไง

ส่วนตัวแล้วผมอยาก debate ตั้งแต่อยู่ประถมละครับ เพราะเห็นคลิป debate ใน Youtube เลยสนใจเพราะรู้สึกว่ามันดูเป็นกิจกรรมที่มีสาระ และ ทำได้ทุกคน

ตอนขึ้นมัธยมมา พอรู้ว่าอัสสัมก็มี debate เลยลองเข้าไป และก็อยู่ จนทุกวันนี้อยู่ ม.4ก็ยัง debate อยู่ครับ

เวลาไปแข่ง ก็จะได้สังคมข้างนอกโรงเรียนที่มีแต่คนเก่งๆทั้งนั้น อีกต่างหาก เลยทำให้ชอบการ debateมากๆ เลยครับ

เดี๋ยวนะ โรงเรียนอัสสัมชัญมีชมรม debate ด้วยหรอ

มีมาจะสิบปีละครับ มีเงียบไปอยู่ช่วงนึงแต่ก็เริ่มจะกลับมาคว้ารางวัลต่างๆ ได้เหมือนแต่ก่อนแล้ว ที่ผ่านมามีอยู่แค่ในแผนก English Program เลยอาจจะไม่ค่อยมีใครได้ยินหรือรู้จักกัน

7th Thailand World Schools Debating Championship (TWSDC 2018) ณ โรงเรียนปัญญารัตน์ (Image courtesy of Panyarat High School Debate Club)

เราว่า debate ดีต่อสมองของเรายังไง

Debate ทำให้เราได้ฝึกใช้ภาษาอังกฤษ มากกว่าในห้องเรียน เยอะเลยครับ เพราะเราได้ใช้ในการสื่อสารกับทั้งกรรมการและฝ่ายตรงข้ามครับ

Debate ก็ยังฝึกให้นักเรียนอย่างเรามองโลกได้กว้างขึ้น เพราะในบางหัวข้อ บางทีมันก็ตรงข้ามกับความคิดของเรา (ยังไงหรอ? สามารถอ่านต่อได้ที่ section “FYI: For Your Information” ด้านล่างเลย)

สุดท้ายแล้ว debate ฝึกให้เราสามารถต่อรองและเกลี่ยกล่อมให้เราพูดอะไรให้คนอื่นเชื่อซึ่งมีประโยชน์ในชีวิตจริงอย่างมาก ผมว่ามีแค่กิจกรรมเดียวในโลกนี้ที่สามารถให้ข้อดีต่างๆ นี้ได้ครบ คือ debate ครับ

Debate ไม่ใช่แค่คนลุกขึ้นมาเถียงๆ กันหรอ มันซับซ้อนรึเปล่า ยังไง อธิบายหน่อย

ไม่ใช่เลยครับ debate มีสาระกว่าการที่คนจะมาพูดๆ ชี้หน้าด่าๆ กันแน่นอน debate มีระบบอะไรที่ชัดเจนมากกว่านั้น เช่น การเรียงคนพูด โดย คนแรกเปิด คนที่สองเถียง คนที่สามสรุป ฯลฯ ทำให้การdebateมีสาระและมีแก่นสารกว่าการเถียงขำๆ กับเพื่อนๆ มากๆ

ดูยากเนาะ

ถ้าเข้ามาซ้อมซักครั้งสองครั้ง ก็เข้าใจหมดละครับ

(หันหน้าหาท่านผู้ชม) เวลาเค้า debate กัน เค้าก็คงไม่ยกประเด็นว่า เฟรนช์ฟรายร้านข้างรั้วโรงเรียนกับร้านตรงข้ามอัสสัมประถม ร้านไหนอร่อยกว่ากันเนาะ ปกติแล้วเค้าจะถกกันในเรื่องที่เป็นประเด็นใหญ่ๆ เช่น ประชาธิปไตย, การศึกษา, Human Rights, LGBTQ, Climate Change, Artificial Intelligent หรือบางทีก็อิงจากสถานการณ์โลก เช่น เรื่องเกาหลีเหนือ-ใต้, การครอบครองอาวุธนิวเคลียร์, การโหวต Brexit เป็นต้น

(หันหน้ากลับมาหาน้องอาร์ม) เราคิดว่าเราชอบประเด็นไหนมากที่สุด อินกับเรื่องไหนที่สุดตอนนี้

ชอบทุกหัวข้อเลยอะครับ (หัวเราะ) ตอนแรกที่เข้าก็ชอบหัวข้อใกล้ตัวๆเช่นเรื่อง education การศึกษา หรือ แบบ gender rights สิทธิเรื่องเพศ เพราะขี้เกียจหาข้อมูลเยอะๆ (หัวเราะ)

แต่สักพักก็รู้สึกอยาก debate พวกเรื่องแบบ Geopolitics ภูมิศาสตร์การเมืองโลก (คืออะไร คลิก) หรือแบบ human rights สิทธิมนุษยชน เพราะรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่มีผลกระทบกับคนจำนวนมาก ทำให้มีประเด็นให้พูดถึงมากกว่า

แต่ถึงอย่างงั้น การที่จะ debate ได้ดีก็ควรจะพูดได้ทุกหัวข้อ เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าการแข่งขันแต่ละงานจะออกหัวข้อมาแบบไหนบ้าง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อดีการdebate เพราะมันทำให้เรามีความรู้รอบตัวเพิ่มขึ้นทุกด้าน (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ section “FYI: For Your Information” ด้านล่างเลย)

12th EU in Thailand National Intervarsity Debate Championship 2017 ณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Image courtesy of EU in Thailand National Intervarsity Debate Championship)

แต่เอาจริงๆ พอสุดท้ายแล้วมันก็ยังมีประเด็นที่เค้าเรียกว่า “Ongoing Debate” คือ debate ให้ตายก็หาคำตอบเคลียร์ๆ ไปเลยไม่ได้

มันถูกทั้งสองฝ่ายอ่ะ แบบนี้เราจะยัง debate ไปเพื่ออะไร ในเมื่อมันก็ไม่ได้คำตอบอะไรขึ้นมาอยู่ดี

เพราะคำตอบที่ไม่ชัดเจนนั้นคือสิ่งที่ทำให้การ debate เป็นสิ่งที่น่าสนใจครับ

มนุษย์ทุกคนมีความคิด มุมมอง ประสบการณ์ และ จุดยืนที่ต่างกัน ทั้งสองฝั่งต้องพยายามบอกว่าทำไมเหตุผลของตนดีกว่าและอธิบายให้กรรมการเห็นภาพว่าทำไมถ้าทำแบบเราถึงดีกว่าทำแบบเขา โดยที่การ debate เราสามารถใส่ความคิดเห็นตัวเองเข้าไปได้ในการแข่งขันด้วยเช่นกัน เช่น ผมเคยไปแข่งที่มหาวิทยาลัยมหิดลในหัวข้อที่เกี่ยวกับการประยุกษ์ความทันสมัยลงเข้าไปในวัฒนธรรมเก่าๆที่กำลังหายไปเพื่อให้คนรุ่นใหม่พัฒนาต่อ โดยผมเป็น opposition คือฝ่ายค้าน ถ้าเป็นคนหลายๆ คนก็จะพูดว่าเราไม่ควรดัดแปลงวัฒนธรรมเก่าๆเพราะมันทำให้วัฒนธรรมนั้นๆเสื่อมลง แต่ผมไปบอกว่า ถ้าวัฒธรรมนั้นมันดีจริงมันก็ไม่จำเป็นที่ต้องรับการดัดแปลงแล้วจะไม่สูญหายไป แต่ถ้ามันไม่ดีเราก็ควรจะทิ้งมันไปเพื่อรับวัฒนธรรมใหม่ๆ เป็นต้น

สิ่งพวกนี้แหละ ทำให้การที่ไม่มีคำตอบแน่นอนนั้นเป็นข้อดีและจุดเด่นของการ debate

คำถามจากทางบ้าน : ผมว่าภาษาอังกฤษผมอ่อนมากเลยครับ จะเข้า debate ไหวมั้ย

การที่อังกฤษไม่ดีนั้น เป็นเรื่องที่เราควรแก้ไข “ด่วน” เพราะภาษาจะเป็นสิ่งที่สำคัญในอนาคตอย่างมาก ถ้าไม่เริ่มที่จะพัฒนาอังกฤษตอนนี้ แล้วมัวแต่กลัวๆ อย่างนี้เราก็คงไม่มีวันพัฒนา โดนเฉพาะการฟังและพูดซึ่งเราอาจไม่มีโอกาสเรียนรู้ในห้องเรียน เพราะฉะนั้นแค่มีพื้นฐานในภาษาแค่เล็กน้อยก็เข้ามาได้ละครับ ถ้ามาฝึกบ่อยๆ เดี๋ยว พี่รับรองว่าภาษาอังกฤษก็ดีขึ้นเองครับ

สุดท้ายละ เปิดโอกาสให้ประชาสัมพันธ์ชมรม เริ่ม!

ชมรม AC Debate ของเราพร้อมจะรับทุกคนจากทุกระดับชั้น แค่ให้มีอังกฤษที่พอสื่อสารได้ก็พอ ชมรมนี้สามารถให้อะไรหลายๆอย่างที่ทำให้คนที่เข้ามีมุมมองต่างๆที่เหนือกว่าคนอื่น ภาษาที่ดีขึ้น และสังคมที่มีคุณภาพ ซึ่งก็มีประโยชน์ไม่ว่าจะเข้าคณะอะไรหรือจะประกอบอาชีพอะไรก็ตาม

ใครที่สนใจอยากเป็นส่วนหนึ่งของเรา ก็ติดต่อได้ที่ห้อง EP. 4/1 ตึกกอลมเบต์ หรือครูท่านใดก็ได้ ตึกกอลมเบต์ เรามีซ้อมอาทิตย์ละครั้งสองครั้งถึงประมาณ 6 โมงเย็น ถ้าสนใจก็เชิญติดต่อสอบถามครับ

สุดท้ายนี้อยากให้ทุกคนมาลองเข้า debate ดู มันทั้งสนุกและมีประโยชน์ อย่ามัวแต่กลัวเพราะไม่เห็นคนอื่นเข้า

"Open your mind and try something new"

Illustrated by : Chainwit Dhanasarnsombat

FYI: FOR YOUR INFO

  • ในการ debate จะมีประเด็นถกเถียง (motion) กำหนดให้ โดยผู้เข้าแข่งขันทั้งสองทีมจะทำการเสี่ยงทายก่อน debate ในหัวข้อนั้นๆ เพื่อเลือกฝั่งว่าจะเป็นฝั่ง government คือเห็นด้วย สนับสนุน หรือ opposition คือฝ่ายค้าน ไม่เห็นด้วย ดังนั้นผู้เข้าแข่งขันจึงต้องเตรียมข้อมูลล่วงหน้าให้พร้อมจะเป็นทั้งสองฝ่ายนั่นเอง

  • ในการแข่งขัน debate มีการแข่งขันอยู่ 2 รูปแบบคือ Prepared Motion – หัวข้อที่รู้ก่อนแข่ง ประกาศตอนประกาศรายชื่อผู้เข้าแข่งขัน เลยมีเวลา research เตรียมข้อมูลได้ และ Impromptu Motion – หัวข้อที่ไปรู้ประมาณ 30 นาทีก่อนแข่ง รู้แล้วให้เตรียมแป๊ปนึง ละแข่งเลย อันนั้นก็ต้องอาศัยความรู้เดิม ไหวพริบ ให้คุกกี้ทำนายกัน

Comments


FOLLOW US
  • Black Facebook Icon
  • Black YouTube Icon
  • Black Instagram Icon
SEARCH BY TAGS
FEATURED POSTS
ARCHIVE
bottom of page